Sunday, July 27, 2008

Assignment No.2 : Due date on August 02nd, 2008



Topic II : Interactions in multimedia learning materials

What do you know about "Interactive Learning"?

If the answer is "Just a little.", watch this video and learn with us.





After that, test yourself by answering these questions. Have a good time!

1. What is "Interactive Learning"?
2. How can we use the interactive in creating multimedia learning materials?
3. What is the advantage of multimedia learning materials ?

Last but not least, learn more from concerning videos from YouTube after finishing the main video. And make a decesion what you will use if you have to create an effective learning material.

5 comments:

RoseKU said...

Dear Jariya,

ครูอยากให้หนู
1. จัด Blog Archive ไปไว้ด้านล่างนะคะ
2. ลองตอบครูซิว่า
2.1 แบบฝึกหัดที่หนูทำส่งครู มีลักาณะต่อไปนี้หรือไม่อย่างไร
- เป็นมัลติมีเดีย
- มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างหลากหลาย
2.2 Blog Video
ที่หนูทำส่งครู มีลักาณะต่อไปนี้หรือไม่อย่างไร
- เป็นมัลติมีเดีย
- มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างหลากหลาย

อ.มธุรส

RoseKU said...

Dear jariya,

อีกนิดนึง
3. ขอให้แก้ Title ที่ขอบบนกรอบของ Blog หนูให้มีชื่อหนูอยู่ด้วยนะคะ

อ.มธุรส

นางสาวจริยา หีบจันทร์ตรี said...

เรียนอาจารย์ที่เคารพ
หนูได้แก้ไข แบบฝึกหัด ตามที่อาจารย์แนะนำแล้วค่ะ เกี่ยวกับ การเพิ่มชื่อที่กรอบบน และการนำ Blog Archive มาไว้ด้านล่าง

หนูได้ทบทวนแล้วพบว่า แบบฝึกหัด สองอันแรก ที่หนูทำ มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนบ้าง แต่ก็ไม่หลากหลาย และไม่ค่อยน่าสนใจนัก แม้จะ แม้จะมีวิดีโอ และรูปภาพเคลื่อนไหวอยู่ ด้วยก็ตาม แต่ก็พยายามให้ความรู้ กับนักเรียน เพิ่มเติมไปกับการเฉลย ที่ค่อนข้างยาว เพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักเรียนค่ะ

ส่วน Blog Video ก็ยิ่งมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนน้อยลงไปอีก และไม่ค่อยเป็นมัลติมีเดียนัก เพราะไม่ค่อยได้ให้ผู้เรียนได้เป็นผู้เลือกที่จะดูอะไร และทำอะไรนัก ถึงแม้ว่าหนูจะพยายาม เขียน ชักจูงให้ผู้อ่านได้ทำกิจกรรม มีส่วนร่วมไปกับบทเรียนด้วย

หนูจะพยายามแก้ไขค่ะ และนำไปปรับใช้กับงานชิ้นที่ สามค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

นางสาวจริยา หีบจันทร์ตรี

RoseKU said...

Dear Jariya,

ครูอยากให้ลองตอบใหม่ตามหลักวิชาการนะคะ
1. เป็นมัลติมีเดียแน่หรือ
2. มีปฏิสัมพันธ์รูปแบบใดบ้าง และถ้าจะปรับให้เป็นรูปแบบที่มีระดับปฏิสัมพันธ์สูงขึ้น จะต้องทำอย่างไร

อ.มธุรส

นางสาวจริยา หีบจันทร์ตรี said...

เรียนอาจารย์ที่เคารพ
หนูขอตอบใหม่ตามหลักวิชาการ ดังนี้ค่ะ

มัลติมีเดีย หมายถึง การใช้สื่อที่มีลักษณะหลากหลาย ได้แก่ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ภาพเสมือนจริง และวิดีโอ ส่วนไฮเปอร์มีเดีย คือ มีการถ่ายทอดสื่อลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถส่งถ่ายข้อมูลขนาดใหญ่ ได้อย่างสะดวก

Interactive Multimedia คือ การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย หรือมัลติมีเดีย นั้นผสมผสานกัน โดยที่ผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ในการแสดงออกซึ่งเนื้อหาได้ตามต้องการ โดยมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยผ่านทางสื่อการสอน ผู้เรียนมีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์และบทเรียน และผู้เรียนมีโอกาสเลือกตัดสินใจทั้งที่เกี่ยวกับการควบคุม หรือกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมจากตัวผู้ใช้เอง และการที่จะเลือกเชื่อมโยงไปตามจุดต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการด้วย

อย่างไรก็ตามรูปแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุดของสื่อมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ ผู้สอนควรออกแบบสื่อมัลติมีเดียให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึง และมีปฏิสัมพันธ์อย่างหลากหลายกับเนื้อหาสาระในส่วนต่าง ๆ ได้ตามต้องการ โดยใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ในการสนับสนุนให้เกิดการจำลองการเรียนการสอน การสื่อสาร ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในลักษณะของบทสนทนา ถามตอบ และกิจกรรมฝึกทักษะต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการให้ผู้เรียนได้ เห็นภาพ ได้ยินเสียง ไปจนถึงมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ หรือใช้คนมาสาธิตให้ดู และที่สำคัญต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมลงมือทำ ด้วยการพูดหรือเขียน จนถึงลงมือปฏิบัติในสภาพจริง เพราะจะทำให้เกิดความรู้ที่คงทน และการเรียนรู้เหล่านั้นจะมีประโยชน์สูงสุด ถ้าผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการประยุกต์ใช้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และสามารถนำความรู้ไปใช้แบบแยกส่วนได้

ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า แบบฝึกหัดที่ 1 ที่หนูทำ เป็น มีความเป็นมัลติมีเดียน้อย เนื่องจากใช้สื่อที่ไม่ค่อยหลากหลายมีเพียง ตัวหนังสือ ที่เป็นคำถาม และคำตอบ รูปภาพ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เป็นแค่เพียงการตกแต่ง ซึ่งไม่จำเป็นนัก มีการเชื่อมโยงไปถึงเว็บไซต์อื่นที่เป็นเอกสาร เป็นเนื้อหาก็มีรูปแบบที่ไม่น่าสนใจ ไม่น่าอ่าน อาจจะให้ความรู้ และมีการเฉลยที่มีการให้ความรู้ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการทำแบบฝึกหัดบ้าง แต่มีรูปแบบที่ไม่น่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนไม่สนใจที่จะอ่าน หรือร่วมกิจกรรม หรืออ่านแล้วก็อาจเบื่อได้ง่ายไม่ทำต่อ ถึงจะมีเนื้อหาที่มีประโยชน์ แต่รูปแบบไม่น่าสนใจ มีความเป็นมัลติมีเดียน้อย จึงทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ กับผู้เรียนได้น้อย ทำให้เกิดการเรียนรู้น้อย และไม่คงทนตามไปด้วย

ถ้าจะปรับให้เป็นรูปแบบที่เป็นมัลติมีเดีย ที่มีระดับปฏิสัมพันธ์สูงขึ้น จะต้อง เพิ่มสื่อให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยง เกี่ยวข้องกับคำถาม เช่น แผนภาพ วิดีโอ ไฟล์เสียง แต่ก็ไม่ฟุ้มเฟือยเกินความจำเป็น มีการเฉลยที่ให้ความรู้ แต่ก็ไม่ควรให้ยาวมาก ถ้ายาวอาจจะเปลี่ยนมาอยู่ในด้านของ ความรู้ให้อ่านประกอบการทำแบบฝึกหัด เพราะจะสะดวกต่อการอ่าน และจะทำให้มีรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น

แบบฝึกหัดที่ 2
มีความเป็นมัลติมีเดียเพิ่มขึ้น โดยมีการเพิ่มวิดีโอ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วย โดยผู้เรียนอาจกลับมาดูซ้ำได้ หยุดพักได้ ตามความต้องการ และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ไปกับวิดีโอด้วย แต่ก็ยังไม่ถือว่ามีความเป็นมัลติมีเดียมากนัก แต่ก็มีส่วนช่วยเพิ่มให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนมากขึ้น และเพิ่มความน่าสนใจในแบบฝึกหัด ทำให้ผู้เรียนอยากเข้าไปทำแบบฝึกหัด ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ต่อไปมากกว่าแบบฝึกหัดแรก ส่วนด้านการเฉลยแบบฝึกหัด มีการเพิ่มเติมให้ความรู้มากขึ้นผ่านทาง feedback ทั้งในคำตอบที่ถูก และคำตอบที่ผิด ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้นจากแบบฝึกหัดแรก แต่ก็ยังมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนไม่มากนัก

ถ้าจะปรับให้เป็นรูปแบบที่เป็นมัลติมีเดีย ที่มีระดับปฏิสัมพันธ์สูงขึ้น จะต้อง เพิ่มสื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้นเช่นเดียวกับ แบบฝึกหัดที่ 1 เช่น แผนภาพ วิดีโอการสาธิต การให้ผู้เรียนได้ฝึกทำตามด้วยตัวเอง แต่ก็ควรให้เหมาะสม และเฉพาะที่จำเป็น ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้คงทนขึ้น ไม่มากเกินไป แต่ให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน นอกจากนี้ในด้านของคำถาม ควรเป็นคำถามที่หลากหลาย ไม่ได้ถามในระดับความจำ ความเข้าใจ เท่านั้น แต่ควรถามให้ผู้เรียนได้ รู้จักประยุกต์นำความรู้ที่ได้ไปใช้ และฝึกทักษะการคิดขั้นสูงด้วย


กิจกรรม วิดีโอที่ 1
มีความเป็นมัลติมีเดีย เชิงปฏิสัมพันธ์ โดยเป็นสื่อวิดีโอ มีการใช้ข้อความในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน มีการชี้ชวนในการทำกิจกรรม ให้ดูวิดีโอ แล้วตอบคำถาม โดยสามารถกลับมาดูใหม่ได้ตามต้องการ อย่างไรก็ตามการมีคำถามมาก อาจทำให้ผู้เรียนกลัวไม่กล้าทำ ไม่กล้าดู ไม่กล้าตอบเพราะกลัวตอบผิดได้

ถ้าจะปรับให้เป็นรูปแบบที่เป็นมัลติมีเดีย ที่มีระดับปฏิสัมพันธ์สูงขึ้น ควรลดจำนวนคำถามลง และ ถามคำถามที่ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์มากกว่า และควรเพิ่มความหลากหลายให้กับกิจกรรม นอกจากดูวิดีโอแล้วตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องที่ดู ซึ่งไม่ค่อยน่าสนใจนัก โดยอาจเปลี่ยนเป็นถามความคิดเห็นจากการดูวิดีโอ ว่าคิดอย่างไร เพราะอะไร หรือจะนำประโยชน์ที่ได้รับจากการดูวิดีโอไปทำอะไร

กิจกรรม วิดีโอที่ 2
มีความเป็นมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ มากขึ้น โดยมีวิดีโอ ที่เป็นการสาธิตเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนที่มีความเป็นมัลติมีเดีย ให้ชม ทำให้ผู้เรียนเห็นภาพ และเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น จากตัวอย่าง และการสาธิต มีการเกริ่นนำให้ผู้เรียนสนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น นอกจากนี้คำถามที่ใช้ ยังเป็นการถามคำถาม ที่ไม่ได้คำนึงถึง การตอบถูก และผิด แต่ถามให้ผู้เรียนมีประเด็นที่จะมุ่งความสนใจในการดูวิดีโอ ได้คิดวิเคราะห์ มากกว่าการตอบเพื่อให้ได้คะแนน จึงจัดเป็นเป็นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในผู้เรียนอย่างค่อนข้างหลากหลาย

ถ้าจะปรับให้เป็นรูปแบบที่เป็นมัลติมีเดีย ที่มีระดับปฏิสัมพันธ์สูงขึ้น อาจเพิ่มกิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ เช่น การให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงานจากการดูวิดีโอ หรือการถามคำถามให้ผู้เรียน ได้แสดงความคิดเห็น และ ได้ฝึกทักษะการคิดขั้นสูง มากขึ้น

ด้วยความเคารพอย่างสูง
นางสาวจริยา หีบจันทร์ตรี